วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2




วันที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 

เนื่องจากวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ทางคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม 
จึงได้จัดงาน "ครูของพระราชาร่วมสืบสานพระราชปณิธาน" ณ โรงยิมพลศึกษา
 อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม

บรยากาศในงาน"ครูของพระราชาร่วมสืบสานพระราชปณิธาน"






ภายในงานมีการจัดกิจกรรมและมีการเล่นเกมส์

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาร่วมกิจกรรมกันทุกคน มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
ประเมินตนเอง : สนุกสนานและได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1




💙 วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562 💙

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
( Mathematical Provision for Early Childhood )
วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกอาจารย์ได้มอบหมายออกแบบและวางแผนในการทำบล็อก
ว่ามีองค์ประกอบมีอะไรเช่น 
👉 บทความเกี่ยวกับคณิคศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
👉 งานวิจัยเกี่ยวกับคณิคศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
👉 สื่อเกี่ยวกับคณิคศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
👉 เพลงเกี่ยวกับคณิคศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
👉 นิทานเกี่ยวกับคณิคศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
👉 รูปแบบการสอนเกี่ยวกับคณิคศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


🎉 ประโยชน์ที่ได้รับ 🎉
⤏ ได้เรียนรู้ในเรื่องใหม่ๆ
⤏ ค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องที่จะเรื่องเพิ่อเป็นความรู้

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

สรุป งานวิจัย

การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย 
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรคเพื่อการเรียนรู้

ปริญญานิพนธ์ ของ คมขวัญ  อ่อนบึงพร้าว

ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่แทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วย ส่งเสริมให้เดกได้  สํารวจค้นคว้า เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคดริเริ่มและจินตนาการ อันจะส่งผลให้ เด็กมีคุณลักษณะที่สําคัญ ได้แก่ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรคเป็นการเรียนรู้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย ดร.กุลยา ตันตผลาชีวะ ที่เน้นว่าศิลปะเป็นการเรียนรู้ ด้วยการกระทํา ทําให้เด็กรับรู้เข้าใจจําได้สนุกเพลิดเพลินกับ สิ่งที่เรียนเด็กได้สังเกต 
วิเคราะห์เปรียบเทียบ สนทนาสื่อความหมาย 

จุดมุ่งหมายของวิจัย

เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรคเพื่อการเรียนรู้


สมมติฐานในการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรคเพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน 

สรุป

ในการทํากิจกรรมขั้นนําเข้าสู่งานศิลปะในช่วงแรก ๆ เด็กยังไม่เข้าใจรูปแบบการทํา ศิลปะสร้างสรรคเพื่อการเรียนรู้จึงต้องแนะนํา และสาธิตวิธีการทําศิลปะก่อน แต่หลังจากสัปดาห์แรกผ่านไปเด็กมีความเข้าใจในรูปแบบกจกรรมมากขึ้นและสามารถสร้างสรรคผลงานได้ดี 
สรุป บทความ

                        เรื่อง การจับคู่และการจัดกลุ่ม (Matching & grouping)


ทักษะการจับคู่ (Matching) และทักษะการจัดกลุ่ม (Grouping) หรือทักษะการจัดประเภท (Classification) 
เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (Basic Mathematical Skills) ซึ่งหมายถึง ทักษะเบื้องต้นที่เด็กปฐมวัยใช้ใน
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งมีความจำเป็นที่ควรได้รับการฝึกฝนเพื่อให้เกิดขึ้นสำหรับเด็กในวัยนี้ ได้แก่ 
ทักษะการสังเกต ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการจับคู่ ทักษะการจัดกลุ่มหรือจัดประเภท ทักษะการเรียงลำดับ ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าจำนวน ทักษะการวัด และทักษะการบอกตำแหน่ง การฝึกฝนทักษะการจับคู่และ
ทักษะการจัดกลุ่มได้ดีเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการพัฒนาทักษะการสังเกตและทักษะการเปรียบเทียบเป็นสำคัญ ทั้งนี้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แต่ละทักษะมีความ สัมพันธ์กันและมีความต่อเนื่อง

  • ➤ การจับคู่ เป็นความสามารถในการจัดวัตถุสิ่งของที่เหมือนกัน ที่มีความสัมพันธ์กันหรือ
  • ประเภทเดียวกันเข้าคู่กัน เช่น จับคู่เลข 1 กับส้ม 1 ผล จับคู่ช้อนกับส้อม เป็นต้น
  • ➤ การจัดกลุ่ม (Grouping) หรือการจัดประเภท (Classification) เป็นความสามารถในการจัดหมวดหมู่วัตถุสิ่งของต่างๆตามคุณลักษณะหรือคุณสมบัติบางประการ เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด ประโยชน์ เป็นต้น







การจับคู่และการจัดกลุ่มมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

  • ⏩ เด็กจะได้รับการฝึกฝนในด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ความสามารถในการจับคู่และการจัดกลุ่มจัดอยู่ในทักษะด้านการจัดหมวดหมู่ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเป็นการเรียนรู้ที่มีความ หมายต่อตัวเด็ก
  • ⏩ สร้างเสริมการคิดเชิงตรรกะให้กับเด็ก หรือการคิดอย่างมีเหตุผลในการที่จะจัดกลุ่มหรือจำแนกประเภทของสิ่งต่างๆ เช่น จัดกลุ่มผลไม้ กลุ่มสิ่งของที่ใช้ในห้องครัว สิ่งของที่เป็นเครื่องเขียน กลุ่มสิ่งของที่มีสีเดียวกัน เป็นต้น
  • ⏩ ฝึกฝนให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตและไวต่อการรับรู้สิ่งต่างๆ ทำให้เกิดความฉับไวในการคิด บางครั้งสถานการณ์ที่ใช้เพื่อให้เด็กเรียนรู้ อาจต้องแข่งขันกับเวลา ทำให้เด็กต้องมีความว่องไวต่อการใช้วิธีการตัดสินใจ และต้องอาศัยความรวดเร็วในการคิดต่างๆ ทำให้เด็กได้รับการฝึกฝนความคิดอย่างมีเหตุผลภายในเวลาที่จำกัด
  • ⏩ ส่งเสริมให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ การเรียนรู้เกี่ยวกับการจับคู่ การจัดกลุ่มจากประสบการณ์ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและเน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย อยากเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
  • ⏩ เด็กสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับการฝึกฝนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้เด็กสามารถถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ดี




















ผู้เขียน: ดร. นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์






 สรุป รูปแบบการสอน

คลิปจาก DLIT PLC พัฒนาวิชาชีพครู
ชื่อคลิปว่า :: ปฐมวัย พัฒนาการรู้เรื่องจำนวน่านการเล่น


โรงเรียนอนุบาลไทรเดิลฮิล เป็นโรงเรียนนำร่อง ทดลองใช้หลักสูตรใหม่ระดับปฐมวัย
รายการนี้จะพาไปชมว่าโรงเรียนแห่งนี้ส่งเสริมทักษะการรู้เรื่องจำนวนอย่างไรในระดับอนุบาล ครูรีเบกกา ฟาวเลอร์และครูแคลร์ ลอยด์จัดกิจกรรมมากมายเพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เด็ก ๆ
ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น (learning through play)
และการเรียนรู้จากประสบการณ์ (experienctial learning) คำสำคัญ : ปฐมวัย อนุบาล กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสรี มุมกิจกรรม ศูนย์กิจกรรม
หลักการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ปรัชญาการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย การรู้เรื่องจำนวน เลข คณิตศาสตร์
กิจกรรม ทักษะทางคณิตศาสตร์ ปฏิรูปการศึกษาปฐมวัย เรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ
การเรียนรู้จากประสบการณ์ experiential learning การจัดห้องเรียน เล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
กิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นคนเดียว การเล่นเป็นกลุ่ม เรียนรู้ตามศักยภาพ พัฒนาตามศักยภาพ
ลดอัตราส่วนครูต่อนักเรียน รูปร่าง รูปทรง การนับ จำนวนนับ การจำแนก ทิศทางการเคลื่อนที่ มิติสัมพันธ์

👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪👪

มอค.


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษารายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

click

⇩⇩